SEO คืออะไร

SEO (search engine optimization)

SEO คือการใช้พื้นที่บน search engine ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด (Search Engine Optimization) เพราะพฤติกรรมสมัยนี้ของคน เมื่อเกิดความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้ออะไร คนที่เรานึกถึง (อาจจะเป็นคนแรกเลยก็ว่าได้) คือ Google คำถามของคุณเรียกได้ว่าอาจจะสามารถถูกตอบได้ทันทีเพียงแค่ พิมพ์คำที่คุณต้องการค้นหา > กด Enter แล้วผลลัพธ์การค้นหา (search engine results) ก็จะปรากฏขึ้น

เมื่อผลการค้นหาปรากฏขึ้นคุณอาจจะสงสัยต่ออีกว่า “Google รู้ได้อย่างไร ว่านี่คือข้อมูลที่เราต้องการ หรือตรงกับ search intent ของเรา?” ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เป็นที่เข้าใจง่ายดังนี้:

พื้นที่ search engine เปรียบเสมือนกับ ห้องสมุด และเว็บไซต์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าของ search engine เปรียบเสมือน หนังสือ Google มีบทบาทคล้ายกับ บรรณารักษ์ ที่มีหน้าที่คัดกรองหนังสือที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดถามหา สมมติเราต้องการหาข้อมูลเรื่อง “SEO คืออะไร และทำอย่างไร” Google จะหยิบหนังสือ (ในที่นี้คือเว็บไซต์) ที่เกี่ยวข้องที่สุดกับคำค้นหาของคุณ คำค้นหาที่คุณป้อนเข้าไปใน Google เรามีศัพท์เก๋ๆ เรียกให้มันด้วยนั่นคือ Keyword หรือ Query

search results seo sem

จากรูปตัวอย่าง keyword หรือ query ที่ถูกป้อนเข้าไปคือ “เสื้อผ้าเกาหลี” จะเห็นได้ว่ามีลิงก์คลิ๊กเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหานี้ จุดสังเกตจะมีลิ้งก์ที่มีคำว่า “Ad” สีเขียวนำหน้า และที่ไม่มี ลิ้งก์ที่มีเกิดจากการทำ SEM (Search Engine Marketing) ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของการจ่ายเงินซื้อโฆษณาแบบ Search กับทาง Google สำหรับลิ้งก์ที่ถือเป็น pure SEO คือลิ้งก์ลำดับที่ 5 ซึ่งถือเป็นการติด SEO ในอันดับที่ 1 การทำ SEO แตกต่างจาก SEM ตรงที่ในส่วนแรกจะไม่มีการจ่ายเงินซื้อเพื่อดันอันดับเว็บไซต์ของตนให้ขึ้นมาติดในหน้าต้นๆ หรือเรียกได้ว่าขึ้นครองตำแหน่งได้เพราะ quality content และ เว็บไซต์

ทำไม Google ถึงรู้ว่าเราต้องการข้อมูลอะไร (Search Intent)?

บรรณารักษ์ที่เก่งย่อมรู้ว่าหากคนเข้ามาขอยืมหนังสือเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะสามารถยื่นข้อมูลที่ ใช่ที่สุด ให้แก่ผู้ที่เข้ามาสืบค้นข้อมูล (user หรือ searcher) และการรู้ว่าหนังสือเล่มไหน ใช่ หรือ ไม่ใช่ ย่อมเกิดจากการอ่าน ใช่แล้วครับ Google มีระบบการคัดเลือกข้อมูลหลังบ้าน (algorithms) ที่จะเข้าไปทำการอ่าน content ของแต่ละเว็บไซต์ เพื่อทำการวิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ไหนผลิตเนื้อหา คุณภาพ ตรงกับ keyword ที่ user ป้อนเข้ามา หลังจากการวิเคราะห์เนื้อหา Google จะทำการประมวลผลจัดอันดับเว็บไซต์ ซึ่งข้อมูลที่ ตรงที่สุด จะขึ้นมาอยู่อันดับแรกๆ บนหน้าผลลัพธ์การค้นหา และเว็บไซต์ที่สามารถขึ้นแท่นมาอยู่อันดับต้นๆ บนหน้าแรกของการค้นหามักจะมีการทำ SEO

Google ยังออกแบบ Algorithm ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่า content ไหนที่ user กำลังมองหา ซึ่งในอดีต search intent เป็นแบบหนึ่ง แต่ในปัจจุบันอาจจะเป็นอีกแบบหนึ่งก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นก่อนหน้าที่เพลง “ก่อนฤดูฝน” ของ The Toy จะออกมา ในหน้าผลการค้นหา (Search Results) อาจจะหยิบ content ที่เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับ “ก่อนฤดูฝน” ควรเตรียมตัวอย่างไร แต่เมื่อเพลงนี้ออกมา แล้วเกิดยอดค้นหาและ View ใน Youtube ที่สูงมาก Google เรียนรู้ว่า ปัจจุบันหาก user พิมพ์คำว่า “ก่อนฤดูฝน” เข้ามา (โดยที่ไม่ต้องพิมพ์ชื่อ The Toy ตามหลัง) user นั้นต้องการดูมิวสิควีดีโอของเพลงนี้ ไม่ใช่อ่าน content การเตรียมตัวก่อนฤดูฝน

ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง คือ เมื่อก่อนเมื่อเรา search ชื่อดาราว่า “นายเอ” สิ่งที่เราจะเจอในหน้าผลการค้นหาเป็นอันดับแรกคือ “ประวัติของนายเอ” แต่เมื่อนายเอมีข่าวเรื่องการทุบรถ เมื่อ user พิมพ์เข้ามาว่า “นายเอ” ผลการค้นหาอันดับหนึ่งยังคงเป็นประวัตินายเอ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ user จึงเพิ่ม keyword ต่อท้ายเป็น “นายเอ ทุบรถ” เมื่อมีหลาย users สร้าง behavior คล้ายกันเช่นนี้ Machine ของ Google รู้ว่าต่อไปเมื่อมีใคร search คำว่า “นายเอ” เข้ามา เขากำลังตามหาเนื้อหาข่าวเรื่องการทุบรถไม่ใช่ประวัติของนายเอ ดังนั้นผลการค้นหาที่หยิบขึ้นมาเป็นอันดับแรกในครั้งต่อๆ ไปจึงเป็นข่าวนายเอทุบรถ โดยที่ user เพียงแค่พิมพ์คำว่า “นายเอ”

แล้ว SEO เกี่ยวอะไรกับ Marketing?

จากข้อมูลที่ Google บอกกับ Search Engine Land ว่าทั่วโลกมีการเสิชข้อมูล (เฉพาะบน Google) ถึง สองล้านล้านครั้งต่อปี ! ในเมื่อพื้นที่บนโลกของ Search Engine ใหญ่ขนาดนี้ คนที่ออนไลน์อยู่สามารถเห็นเว็บไซต์ของเราได้เช่นกัน ไม่ดีกว่าหรือหากเราจะลองทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์หรือเพจบนเว็บไซต์ของเราขึ้นไปติดอันดับต้นของหน้าผลการค้นหา การทำ SEO อย่างประสบความสำเร็จ หมายความว่าหากเราสามารถรักษาอันดับ 1 – 3 บนหน้าแรกของผลลัพธ์การค้นหา (Search Engine Result Page: SERP) ของเพจในเว็บไซต์ของเราได้คงอยู่เป็นเวลานาน value ของหน้านั้นจะถูกสะสมแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ หรือเกิดจากการที่มีคนเชื่อถือคลิ๊กเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นลิ้งก์ที่สามารถสร้างความเชื่อถือได้มากที่สุด ทำไมน่ะหรือ? เพราะ Google คัดแล้วว่าเพจนั้นในเว็บไซต์คุณคือหนึ่งในผู้ที่ให้ข้อมูลเนื้อหาตรงที่สุดกับ keyword ที่ user พิมพ์เข้ามา จึงส่งคุณขึ้นไปอยู่ในอันดับแรกๆ แตกต่างจากป้ายประกาศบิลบอร์ดตามสถานีรถไฟฟ้าหรือตามตึกต่างๆ ที่ value โฆษณาของคุณจะหมดลงทันทีเมื่อโดนถอดป้ายออก

หากคุณยังไม่คิดจะทำ SEO ตอนนี้เรามี Pie Chart หนึ่งนำเสนอ

Google Search mobile and desktop

ข้อมูลใน pie chart นำเสนออัตราการคลิ๊กเข้าเว็บไซต์ผ่านหน้าผลการการค้นหาบน search engine จะเห็นว่า user เลือกคลิ๊กลิ้งก์ที่เป็น Organic หรือ SEO มากกว่าลิ้งก์ที่เป็น Advertisement หรือ SEM มากกว่า 20+ เท่า ! คราวนี้คุณเริ่มสนใจทำ SEO แล้วหรือยัง? (ข้อมูลรีเสิชจาก Moz ผู้ให้บริการทาง online marketing ชื่อดังในสหรัฐ)

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (traffic) ที่มากขึ้น ย่อมหมายถึงโอกาสที่สินค้าของคุณจะถูกเห็นมากขึ้น และยิ่งถ้าคุณสามารถเชื่อมโยง content กับ product ของคุณได้อย่างลงตัว หรือการที่คุณสามารถปลุก demand สินค้าผ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ จะดีแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่นหน้าเพจบนเว็บไซต์มี traffic เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 10,000 คลิ๊กการเข้าชม และหน้านั้นมีปุ่มกดซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่คุณนำเสนอ สินค้าราคา 500 บาท หากมีคนกดซื้อเฉลี่ยเพียง 1% ของยอด traffic จะเท่ากับ 500 (ราคาสินค้า) x 100 (จำนวน 1% จาก 10,000) = 50,000 ซึ่งตัวเลขนี้คือรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าตัวนั้นในระยะเวลาหนึ่งวัน และหาก traffic เพิ่มมากขึ้น ลองคิดดูว่ารายได้จากจำนวน traffic เพียงแค่ 1% นั้นจะเพิ่มขึ้นไปมากแค่ไหน และยิ่งถ้าคุณสามารถทำให้สินค้าอีกประเภทที่อยู่อีกหน้าเว็บไซต์ติดอันดับต้นของผลการค้นหา และมีจำนวน traffic รวมถึงอัตราการซื้อที่ตัวเลขเดียวกัน จะสร้างรายได้สะสมจากสินค้าสองประเภทต่อวันได้มากแค่ไหน โดยที่คุณไม่ต้องไปเสียค่าเช่าโฆษณาแผ่นป้ายใหญ่ตามตึกหรือสถานีรถไฟฟ้าที่ไหนเลย

search result seo semseo search result

จากรูป เว็บไซต์ E-commerce ใหญ่อย่าง Lazada ติดอันดับต้น keywords “ซื้อกล้อง sony” และ “ซื้อกล้อง “fuji” ลองคิดดูว่า traffic แต่ละวันที่วิ่งเข้าไปหน้าเหล่านี้มีขนาดเท่าไร และหากเกิดการซื้อขึ้นมาเพียง 1% Lazada จะมีรายได้เท่าไรต่อวัน (เฉพาะ product ประเภทกล้อง) จะดีกว่าไหมหากเว็บที่ติดอันดับต้นเป็นหน้าโปรดักส์สินค้าหรือบริการในเว็บไซต์ของคุณ

จากตัวอย่างในข้างต้นนี้ เมื่อเราสามารถติดอันดับหนึ่งทั้งใน SEM และ SEO พื้นที่ประมาณ 25% ของหน้าผลการค้นหานั้นเป็นของเราทั้งหมด และเนื่องด้วยพฤติกรรมของ users ปัจจุบันน้อยคนที่จะเลื่อนลงมาดูผลการค้นหาอันดับล่างๆ หรือหน้าสอง ส่งผลให้เราขโมยจำนวน clicks จากเว็บไซต์อื่นๆ ที่อยู่อันดับล่างเรา จากเหตุการณ์นี้สร้างมุกตลกหนึ่งในแวดวง SEO ว่า หากต้องการซ่อนเว็บไซต์ ที่ไหนซ่อนได้ดีสุด? คำตอบคือ หน้าสองของ Google

หากสินค้าคุณเป็นเจ้าแรกๆ ในตลาดควรโฟกัสไปที่ SEM หรือ SEO ดี?

สมมติว่ามีมือถือแบรนด์ใหม่ที่จีนยังไม่นำเข้าไทย คุณมีแผนว่าถ้าเราเอาเข้ามาเป็นเจ้าแรกๆ ก่อนอาจจะสามารถโกยกำไรได้งาม เนื่องจากยังไม่มี supply ในโปรดักต์นี้ แต่คุณและเห็นว่ามันมี demand อยู่ และแน่นอนคุณเลือก bid kw นี้ได้ในราคาถูกเนื่องจากยังไม่มีใครนำเครื่องรุ่นนี้มาขาย online บน searchengine โดยมีภาษาไทยอยู่ใน query ด้วย

j phone for seo example

serp ppc

คุณทำโฆษณาออนไลน์ด้วย Google Adwords

แต่เมื่อมันเริ่ม monetize หรอทำเงินจาก keyword นี้ได้ คุณจะเริ่มสังเกตผู้เล่นเข้ามาในตลาดนี้มากขึ้นทั้ง sem และ seo นำไปสู่การแข่งขันที่สูงขึ้น

จะสังเกตว่าแบรนด์ใหญ่ๆ อะไรที่เป็นสินค้าหลักเขาจะต้องรักษาอันดับของหน้าสินค้านั้นให้อยู่ในอันดับหนึ่งเสมอทั้ง seo และ sem ซึ่งถ้าเราเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ก็อาจจะเป็นการยากที่จะเข้าไปสู้เพื่อแย่งพื้นที่บน search engine จากแบรนด์เหล่านี้

สรุป

นอกจากคุณภาพของ content จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดอันดับผลการค้นหาของ Google ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่สำคัญเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการทำ SEO ถือเป็นการทำการตลาดออนไลน์แบบ long-term strategy ที่สามารถสร้าง value ให้กับสินค้าหรือบริการของคุณได้ในระยะยาว บทความต่อๆ ไป เราจะทยอยเปิดเผยข้อแนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์ต่างๆ ในการทำ SEO และคุณจะพบว่าการทำการตลาดผ่านช่องทางนี้น่าสนใจมากแค่ไหน

ที่มา: https://www.itopclass.com

SSL คืออะไร

SSL คืออะไร

SSL ย่อมาจาก Secure Socket Layer คือเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย สำหรับการเข้ารหัสข้อมูล ระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และ เซิร์ฟเวอร์ โดย SSL ถือเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่ได้รับความนิยม และ มีการใช้งานทั่วโลก เพื่อป้องกันการถูกดักจับข้อมูล (Sniffer) บนโครงข่ายอินเตอร์เน็ตปัจจุบัน SSL ได้มีการพัฒนาเป็นขึ้นมาเป็น TLS (Transport Layer Security) คือ สำหรับการรับส่งข้อมูลให้มีความปลอดภัย โดยวิธีการเรียกใช้งาน จะเรียกผ่านโปรโตคอล HTTPS หรือใช้ โปรโตคอลความปลอดภัยอื่นๆ ตามแต่วิธีการใช้งาน

SSL Certificates คือ 

เครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกหรืออนุมัติโดย CA (Certificate Authority) ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการออกใบรับรอง SSL อยู่หลากหลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆ เช่น COMMODO, Thawte , GeoTrust , GlobalSign , Entrust, Symantec, VeriSign, Entrust , เป็นต้น

เครื่องหมายเหล่านี้ จะเป็นการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย SSL Certificate ซึ่งผู้ให้บริการ CA (Certificate Authority)  เป็นผู้อนุมัติ SSL Certificate ให้แก่เว็บไซต์ต่างๆ เพื่อยืนยันตัวตนของเจ้าของเว็บไซต์ หรือ องค์กรต่างๆ ว่าเป็นเจ้าของเว็บไซต์จริง แสดงความน่าเชื่อถือต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่สูงขึ้น มีความน่าเชื่อถือ และปลอดถัย โดยทำการเข้ารหัสข้อมูล โดย SSL / TLS ผ่าน Protocal HTTPS หรือโปรโตคอลความปลอดภัยอื่นๆ ตามแต่วิธีการใช้งาน

SSL จึงมีข้อดีหลายประการ ที่เจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ ควรดำเนินการติดตั้ง ให้กับเว็บไซต์ของตน ปัจจุบัน SSL Certificate มีหลากหลายยี่ห้อ และ หลากหลายราคาให้เลือกใช้งาน และมีราคาที่ถูกลงมาในปัจจุบัน

SSL ยังช่วยให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ มั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่ทำการส่งไปยังเว็บไซต์ มีความปลอดภัย เช่น ข้อมูลส่วนตัว , ข้อมูลบัตรเครดิต, รหัสผ่านต่างๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีการทำธุรกรรมออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต

Posuere Amet Sodales

Posuere Amet Sodales

Suis viverra mauris at fringilla sollicitudin. Donec dolor turpis, mollis sed quam quis, faucibus gravida tellus. In dictum tristique purus, at imperdiet purus fermentum ut. Nunc pellentesque rutrum risus. Nunc accumsan orci ac justo sollicitudin, ullamcorper porttitor nulla vestibulum. Praesent pellentesque, erat vel aliquet vehicula, urna turpis bibendum dui, vel mattis nisl quam eget enim. Maecenas vel libero rhoncus, rhoncus purus quis, varius lectus. In posuere ullamcorper odio, eu gravida orci vestibulum nec. Morbi a ipsum ut est euismod sollicitudin. Nunc molestie semper velit eget mollis. Cum sociis natoque penatibus et magnis dis parturient montes, nascetur ridiculus mus. Nullam lorem velit, pharetra in tortor nec, rhoncus rhoncus purus.

onec dolor turpis, mollis sed quam quis, faucibus gravida tellus. In dictum tristique purus, at imperdiet purus fermentum ut. Nunc pellentesque rutrum risus. Nunc accumsan orci ac justo sollicitudin, ullamcorper porttitor nulla vestibulum. Praesent pellentesque, erat vel aliquet vehicula, urna turpis bibendum dui, Suspendisse vitae sem at orci viverra iaculis in ut sapien. Donec ullamcorper nulla non placerat lobortis. Pellentesque habitant morbi tristique senectus et netus et malesuada fames ac turpis egestas. Pellentesque semper diam ac condimentum lobortis. Sed feugiat euismod feugiat.

Mauris vitae arcu aliquet, porta sapien sit amet, malesuada orci. Sed vehicula, est non egestas aliquam, mi lorem iaculis sapien, vel egestas dui mi ac justo. Aliquam erat volutpat. Fusce ac nibh eget nisl aliquam ullamcorper. Vestibulum tincidunt, augue vitae porttitor interdum, diam velit egestas dui, ac tincidunt dolor lacus ac nunc. Suspendisse nec justo hendrerit magna interdum viverra. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Nullam maximus sagittis felis, sit amet ultricies lectus eleifend ut. Aliquam justo velit, tristique lobortis massa sollicitudin, facilisis imperdiet nibh. Curabitur sit amet tincidunt quam. Cras vel magna pellentesque, viverra lectus rhoncus, accumsan quam. Suspendisse congue magna vulputate, gravida ex et, molestie sem. Proin commodo dui vehicula, varius massa vel, maximus metus. Phasellus dapibus molestie commodo. Pellentesque non tortor blandit, fermentum velit a, feugiat lorem. Duis nulla libero, scelerisque id arcu non, pellentesque elementum nisi. Aenean condimentum libero sapien, sed convallis nisi mollis sit amet. Nulla commodo massa eu mauris rutrum ullamcorper. Duis faucibus tortor ac arcu interdum ornare. Fusce sed nulla faucibus augue commodo varius vulputate non eros. Nulla varius tristique justo id euismod. Sed a sem bibendum, finibus massa eget, condimentum